“เรื่องโชคดี… ที่เกิดมาเป็นคนไทย? “ รีวิวสวัสดิการเด็กเล็กในไทยและต่างประเทศ จาก PUCHUP x THE READ

--

#เพราะเกิดจึงเจ็บปวด #เกิดแล้วไปไหน #สวัสดิการเด็กเล็ก

ถ้าอ่านแค่ชื่อเรื่อง หลาย ๆ คนก็คงอาจจะยังนึกไม่ออกว่านิทรรศการที่เราจะมาพูดถึงกันเกี่ยวกับอะไรกันแน่ ประโยคติดหูที่ทุกคนเคยได้ยินกันจะเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการคุณภาพชีวิตของประชากรวัยแรกเริ่ม

โดยตั้งแต่หน้าแรกของนิทรรศการก็จะชวนให้เราได้ลองคิดดูว่า

“ถ้าหากว่าคุณเกิดมาในประเทศไทยอีกครั้ง เราจะพบกันโชคดีอะไรบ้าง”

ใครยังไม่เคยเล่นก็สามารถไปลองได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้ก่อนได้เลย คุ้มค่ากับเวลาแน่นอนครับ ส่วนบทความนี้ก็จะเป็นบันทึกส่วนต่าง ๆ ที่ผมได้จากนิทรรศการนี้นี่แหละ

>>> https://theread.co/data-visualize

หน้าแรกของตัวนิทรรศการออนไลน์เลย

หลังจากทำการคลิ๊กเพื่อเขย่าเซียมซีการเกิดของตัวเองนี่ก็เป็นผลลัพธ์ที่ผมได้ครับ

ใบที่สาม ความยากลำบากมา รวยค้ำฟ้า แต่ว่าซวยนิดนึง 0.0

ดวงชะตาและแต้มบุญที่ผมสะสมมาก็จะอยู่รูปของ 4 ตัวแปรพื้นฐานในการกำหนดคุณภาพชีวิตได้แก่ ฐานะ, สุขภาพ, โภชนาการ, และ การเรียนรู้ พร้อมบอกความน่าจะเป็นของการมีโอกาสดีและโอกาสซวยซึ่งแปรผันตามกลุ่มฐานะที่ได้อีกด้วย

เลื่อนต่อมาอีกก็จะพบกับคำอธิบายอย่างละเอียดของ 4 ปัจจัยที่ได้พูดถึงด้านบน

เกณฑ์ในการกำหนดแบ่งฐานะ การโชคดีและการซวย

ถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจจะได้ลองกดซ้ำดูเพื่อที่ว่าอยากจะเห็นผลลัพธ์รูปแบบอื่นบ้าง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ที่ว่าเราสามารถกดทายดวงชะตาใหม่ผ่านเว็บไซต์กี่ครั้งก็ได้ แต่เราไม่สามารถทำแบบเดียวกันได้ในชีวิตจริงนี่สิ ผลดวงชะตาที่ออกมาจะอยู่กับบุคคลนั้น ๆ ต่อไปอีกตลอดช่วงชีวิต ซึ่งถ้าเราบอกว่าช่วงแรกเกิดเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดเพราะจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ติดตัวบุคคลไปตลอดชีวิต ก็คงไม่มีใครปฏิเสธ

ถ้าคุณได้เกิดมาในครอบครัวฐานะดีก็จะมีโอกาสมากหน่อย ในทางกลับกันคนที่เกิดมาในครอบครัวที่ฐานะไม่ดีก็ซวยไป

เปรียบเทียบโอกาสดวงดีกับดวงซวยในหมวดหมู่ต่าง ๆ ตามฐานะที่มี

ก็ปกติดีหนิ?

ไม่ต้องรอให้ทายเซียบซีครบทุกแบบเราก็สามารถเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างฐานะและคุณภาพชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ความสัมพันธ์นี้เรียกได้ว่าเป็นการแสดงสิ่งที่จะได้และความจำเป็นในการมีฐานะที่ดีอีกด้วย ถึงตรงนี้หลาย ๆ คนก็คงไม่ได้ประหลาดใจอะไรกับผลลัพธ์ที่ออกมานัก ทุกอย่างก็ดูโจ่งแจ้งและสมเหตุสมผล

ซึ่งก็จะเข้าสู่จุดที่ส่วนตัวแล้วให้เป็น Climax เพราะว่านิทรรศการนี้ไม่หยุดแค่ที่แสดงความเหลื่อมล้ำ แต่ยังแสดงสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อไม่ให้คุณภาพพื้นฐานที่พึงมีเหล่านี้ต้องมาขึ้นอยู่กับโชคอีกต่อไป โดยการเปรียบเทียบนั่นเองครับ

เพราะคุณภาพชีวิตไม่ควรขึ้นอยู่ที่ดวงชะตา

ตารางเปรียบเทียบสวัสดิการ

โดยประเทศถูกหยิบยกมาเทียบเพราะขึ้นชื่อเรื่องสวัสดีการที่ดีอยู่แล้วก็คือ ประเทศฟินแลนด์นั่นเอง

ความโดดเด่นที่พูดถึงนี้มีหลายประเด็น ตั้งแต่ความใส่ใจในช่วงก่อนเกิด, ขณะเกิด, แรกเกิด, และการเติบโต ตารางข้าง ๆ สรุปข้อมูลออกมาให้ดูง่ายมาก ๆ และความเข้าถึงง่าย

ถ้าหากเข้าไปในเว็บไซต์เรายังสามารถลองเปรียบเทียบสวัสดิการของข้าราชกาลและพนักงานรัฐในประเทศไทยได้อีกด้วยลองไปปรับเล่นดูได้เลย แต่ในประเทศฟินแลนด์เห็นได้ว่าไม่มีตัวเลือกข้าราชกาลเพราะว่าทุกคนได้รับสวัสดิการที่เท่ากัน ยิ่งไปกว่านั้นยังไม่มีขั้นตอนยุ่งยากในการเบิกรับสิทธิต่าง ๆ อีกด้วย

การรับสวัสดิการในประเทศไทย

พอมามองจริง ๆ แล้วสวัสดิการอื่น ๆ ในช่วงอายุที่แตกต่างไปในประเทศไทยก็ยังไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ฐานะเพื่อรับสิทธิหนิ? แต่ทำไมเรากลับต้องมายืนยันกับช่วงวัยเด็กที่เรียกได้ว่าเป็นอนาคตของชาติกันหละ

โอกาสทองที่อาจะเสียไป

เขาว่า..เด็กคืออนาคตของชาติแต่วันนี้ไทยมี ‘เด็กเล็ก’ กว่า 4.2 ล้านคน ถูกละเลย ‘สิทธิ’ ที่จะเติบโต อย่างเท่าเทียม

บทความนี้เป็นเพียงสรุปสั้น ๆ เท่านั้นยังมีข้อมูลที่น่าสนใจในเว็บไซต์อีกมากมาย ที่ตัวเราเองเนี่ยยอมรับว่าไม่เคยรู้มาก่อนเลยถ้าหากไม่ได้เห็นนิทรรศการนี้

สวัสดิการเด็กเล็กกำลังเป็นประเด็นที่ทุกประเทศให้ความสนใจและพัฒนาเพราะผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถช่วยพัฒนาชาติในระยะยาวได้

ข้อมูลทั้งหมดที่ถูกนำเสนอกำลังชี้ถึงโอกาสอันน่าสนใจในการพัฒนาของประเทศ ที่ทุกคนควรใส่ใจ

ก่อนจากไป ก็ขออนุญาตแนบวิดีโอดี ๆ จากเพจ พูด ที่เป็นสิ่งที่ทำให้ผมได้เห็นนิทรรศการนี้ “ประเทศที่คนมีลูกไม่ได้, Pud

แล้วก็ไปร่วมลงชื่อรณรงค์ใน “เรียกร้องรัฐให้เงินอุดหนุนถ้วนหน้าแก่เด็กเล็กทุกคน 0–6ปี เดือนละ 600บาท” ผ่าน Change.org ได้ง่ายเพียงแค่ลงชื่อในกี่นาทีเท่านั้นเอง

และแน่นอนนี่ไม่ใช่นิทรรศการเดียวของ The Read สามารถติดตามเพื่อที่จะไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจที่ The Read จะเอานำมาทำนิทรรศการดี ๆ อีก

ขอบคุณครับ ^^

--

--

ChampInMyThought

A medical student who lacks sleep and time to rest and wishes he had more time to enjoy writing | Bangkok, Thailand